วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

นวัตกรรม “ฟาสต์แทร็ก” ย่นเวลาพัฒนาวัคซีน สู้ “มาลาเรีย”

ข่าววันที่:29 สิงหาคม 2562 
“มหิดล” ร่วมมือ “อ๊อกซ์ฟอร์ด” ชูนวัตกรรม “ฟาสต์แทร็ก” ย่นเวลาพัฒนาวัคซีน “มาลาเรียไวแว็กซ์” จาก 30 ปี เหลือ 5 ปี เตรียมทดลองกับอาสาสมัครต้นปีหน้า หวังยับยั้งการแพร่ระบาด ตั้งเป้าปี 2567 มาลาเรียต้องหมดไปจากประเทศไทย
มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกหลายแสนคนต่อปี สิ้นปี 2561 มีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย 219 ล้านคน ในจำนวนนี้ 435,000 คน เสียชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ลดลง 95% หรือ เหลือ 6,607 คน จาก 150,000 คน ในปี 2553 
งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet Infectious Diseases ยังระบุอีกว่า เชื้อดังกล่าวได้ลุกลามแพร่ออกไปจากแหล่งกำเนิดทางภาคตะวันตกของกัมพูชาเข้าสู่หลายประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และยังพบว่าเชื้อมาลาเรียกว่า 80% แพร่กระจายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและเวียดนาม ทั้งยังพบการกลายพันธุ์เพิ่มอีกหลายพื้นที่
การควบคุมและกำจัดเชื้อไวแว๊กซ์ แม้เป็นเรื่องยากแต่มีความพยายามจากหลายหน่วยงานทั่วโลก หนึ่งในนั้น คือ โครงการ Malaria Infection Study Thailand (MIST) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกฟอร์ด (MORU) เพื่อสนับสนุนและผลักดันพัฒนาวัคซีนและยาต้านมาลาเรียไวแว็กซ์ ซึ่งเป็นเชื้อที่พบมากที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนเงินทุน จากกองทุนเวลคัม ประเทศอังกฤษ 
ดร.เจตสุมน สัตตบงกช ประจำศรี หัวหน้าโครงการวิจัยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในนักวิจัยที่ทำงานด้านมาลาเรียมากว่า 10 ปี กล่าวว่า เราทำวิอ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น